โลกของเด็ก
“.........
บุตรของเธอ ไม่ใช่บุตรของเธอ
เขาเหล่านั้น เป็นบุตรและธิดาแห่งชีวิต
เขามาหาเธอ แต่ไม่ได้มาจากเธอ
และแม้ว่า เขาอยู่กับเธอ แต่ก็ไม่ใช่สมบัติของเธอ
เธออาจให้ความรักแก่เขา แต่ไม่อาจให้ความนึกคิดได้
เพราะว่าเขาก็มีความคิดของตนเอง
เธออาจนะให้ที่อยู่อาศัยแก่ร่างกายของเขาได้ แต่มิใช่แก่วิญญานของเขา
เพราะว่า วิญานของเขานั้น อยู่ในบ้านของพรุ่งนี้
ซึ่งเธอไม่อาจไปเยี่ยนเยียนได้ แม้ในความฝัน …..”
(จาก The House of Tomorrow ของ คาร์ลิล ยิบราล – ระวี ภาวิไล แปล)
ความสัมพันธ์ของแบบแผนการเลี้ยงดูเด็ก และพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่
เด็กที่เติบโตขึ้นมา ด้วยวิธีการเลี้ยงดูโดย
|
เมื่อเติบใหญ่ เด็กนั้นจะมีพฤติกรรมดัง
|
- การวิพาก วิจารณ์ ตำหนิ
- ความเป็นศัตรู
- การเย้ยหยัน/เยาะเย้ย ถากถาง
- การทำให้รู้สึกละอายใจ
- การฝึกฝนด้วยความมานะ
- การให้กำลังใจ
- การยกย่องชมเชย/ชื่นชม
- ความเป็นกลาง/ตรงไปตรงมา
- ความหนักแน่นมั่นคง
- การเห็นชอบ/ยอมรับ
- การแสดงอย่างมิตรไมตรี
|
- ชอบประนามผู้อื่น
- ชอบต่อสู้/แข่งขัน
- ขี้อาย/ ขี้กลัว
- รู้สึกผิด / หวาดระแวง
- เป็นคนอดทน
- มีความเชื่อมั่นในตัวเอง
- เห็นคุณค่าของตนเอง และผู้อื่น
- มีความยุติธรรม
- มีศรัทธา - เชื่อมั่น
- ชอบตนเอง
- รักโลกที่เขาอยู่
|
(Dorothy Law Nolte 1982)
อีคิว (Emotional Quotient) คืออะไร?
อีคิว หรือความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง และความรู้สึกของผู้อื่น มีสติในการควบคุมอารมณ์ตนเอง รู้จักรอคอย และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถจัดการกับอารมณ์ไม่สบายใจต่าง ๆ ได้ และมีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง (พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก วัดสุนันทาวนาราม กาญจนบุรี)
ไอคิว (Intelligence Quotient) คืออะไร?
ไอคิว หรือความฉลาดทางสติปัญญา ทางสมอง ความสามารถในการเรียนรู้จดจำและนำมาใช้ปฏิบัติจนประสบความสำเร็จในการเรียน การดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ
ความฉลาดทางอารมณ์หรือ อีคิว สามารถเริ่มพัฒนาตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ แต่ผู้คนส่วนใหญ่หรือพ่อแม่ มักสนใจจะให้เด็กพัฒนาทางสมองหรืออยากให้ลูกมีสติ ปัญญาดี เรียนหนังสือเก่ง เมื่อเติบใหญ่จะได้ประสบความสำเร็จทางการอาชีพ ในทางระบบการศึกษาปัจจุบันก็เช่นกัน มุ่งเน้นจะให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนการอาชีพ มากกว่าจะส่งเสริมหรือเน้นด้านคุณธรรมจริยธรรม เนื่องจากการแข่งขันพัฒนาด้านเทคโนโลยี่จากทั่วโลกเป็นแรงจูงใจให้ มุ่งพัฒนาความเก่งของคนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และการเมืองจนมองข้ามปัญหาสังคมที่มาพร้อมกับความเจริญของประเทศ อันเนื่องมาจากประชาชนไม่สามารถปรับตัวได้ทันท่วงทีกับความเปลี่ยน แปลงของสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี่ที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาความล้มเหลวทางเศรษฐกิจและการเมือง นำไปสู่ปัญหาทางสังคมชุมชนและครอบครัว ความแตกแยกขัดแย้งที่ซับซ้อน ที่รอการพัฒนาและบำบัดเยียวยา โดยเฉพาะในเด็ก ๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นอนาคตของประเทศไทยต่อไป สิ่งที่เรา “ผู้ใหญ่” จะต้องทำก็คือ ถามความต้องการจากก้นบึงหัวใจของเด็ก ๆ ว่า
ลูก ๆ ต้องการอะไรจากผู้ใหญ่ จากพ่อแม่ของเขา?
ตลอดระยะเวลาของการเจริญเติบโต เด็ก ๆ จะคุ้นเคยกับการจะต้องทำทุกอย่าง หรือทำตามความต้องการของผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่/พ่อแม่คือ “เจ้าของชีวิต” ของเขา หรือเพราะเด็กยังเล็กบอบบางเกินกว่าจะช่วยเหลือและดูแลตัวเองให้รอดปลอดภัยได้
เด็ก ๆ ต้องการการเรียนรู้และการฝึกสอนจากผู้ใหญ่ ด้วยความรัก ความเข้าใจ ให้อภัยในความผิดพลาด และด้วยความเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลลือดูแลตัวเองต่อไปได้ ด้วยความภาคภูมิในตัวเอง
ผู้ใหญ่ทุกคนต้องเดินผ่านถนนสายนี้ ถนนบนโลกของเด็ก ๆ แต่เมื่อเราเติบโตจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ “เรา” มักจะหลงลืมความเป็นเด็ก ๆ ไป ลืมความต้องการ ลืมความนึกคิดของเด็ก ๆ โลกสีชมพูกับความเยาวัย กลายเป็นความยุ่งยากสร้างความรำคาญใจให้ผู้ใหญ่ เด็ก ๆ มากมายถูกปฏิเสธ ถูกผลักไส ถูกจำกัดให้อยู่แต่ในโลกที่ผู้ใหญ่สร้าง จนมากมายเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทั้ง ๆ ที่หัวใจของเขายังติดอยู่กับความเยาวัยในอดีต ความสับสนขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เด็ก ๆ ต้องการ กับสิ่งที่ผู้ใหญ่หยิบยื่นให้อาจกลายเป็นแผลร้ายที่เกาะกินหัวใจของเด็กไปนานเท่านาน และปัญหาในสังคมไทยคงจะลดลงมากกว่านี้ หากจะมี พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ ฟังบ้างว่า เด็ก ๆ ต้องการอะไรจากผู้ใหญ่บ้าง?
|